ติดต่อสอบถาม:
คุณวิเชียร 089-232-0091

คุณเมธีณัฐ 061-449-6354

ตอกเสาเข็มไมโครไพล์

ภาพการทำคอลิ่งเสริมฐานเสาเข็ม

ตอกเสาเข็มไมโครไพล์

ถ้ากล่าวถึงเสาเข็ม ทุกท่านทราบหรือไม่ว่าเสาเข็มมีกี่ประเภทมีความสำคัญกับบ้านร้าว และบ้านทรุดอย่างไร?

บ้านของเราก็เหมือนกับต้นไม้ซึ่งต้องมีรกฐานแข็งแรง ทนทาน เสาเข็ม ถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของโครงสร้างบ้าน เพราะมีหน้าที่รับน้ำหนักจากส่วนต่างๆของบ้าน การเลือกเสาเข็มอย่างเหมาะสม และการควบคุมการก่อสร้างอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลัง โดยทั่วไปเสาเข็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ

เสาเข็มตอกคือ เสาเข็มที่เห็นอยู่ทั่วไป มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ มีหน้าตัดเป็นรูปเหลี่ยม กลม หรือตัวไอ ( I ) ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วใช้ปั้นจั่นตอกลงไปในพื้นดิน เสาเข็มคอนกรีตรูปหกเหลี่ยมกลวงเป็นเสาเข็มขนาดเล็ก จึงเหมาะที่จะใช้กับโครงสร้างขนาดเล็กๆ หรือไม่สำคัญนัก เช่น รั้ว ศาลพระภูมิ เป็นต้น ในอดีตใช้ไม้เป็นเสาเข็ม แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้มีราคาแพง คัดขนาดหรือควบคุมคุณภาพได้ยากอีกทั้งเสาเข็มไม้ผุพังได้ตามสภาพ ปัจจุบันจึงแบจะไม่ใช้ไม้กับบ้านที่พักอาศัยหรืออาคารต่างๆ

เสาเข็มเจาะเปียก มักจะใช้ในการก่อสร้างอาคารใหญ่ ส่วนเสาเข็มเจาะแห้งนั้นจะใช้ในการปลูกบ้านหรืออาคารที่มีความสูงไม่มากนัก ใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าเสาเข็มตอกจึงใช้ได้ดีกับการก่อสร้างในพื้นที่แคบๆและทำให้เกิดการสั่สะเทือนหรือการแตกร้าวขออาคารข้างเคียงน้อยกว่าเสาเข็มตอกแต่การใช้เสาเข็มเจาะแห้งนั้น จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพการก่อสร้างมากว่าเสาเข็มตอก

เสาเข็มเจาะแห้ง มีขั้นตอนการทำงานโดยเริ่มจากการกดปลอกเหล็กกันดินพัง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับขนาดของเสาเข็มลงในตำแหน่งที่ต้องการเจาะเสาเข็ม โดยกดให้เลยชั้นดินอ่อน จากนั้นจึงทำการเจาะดินให้ได้ความลึกที่กำหนด แล้วจึงใส่เหล็กเสริม และเทคอนกรีตลงไป การควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้งนั้น ต้องตรวจสอบในขั้นตอนสำคัญๆ โดยเริ่มตั้งแต่ตรวจสอบตำแหน่งการลงปลอกเหล็กว่าถูกต้องหรือไม่ จากนั้นตรวจสอบดูว่ารูเจาะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ความลึก ขนาด และรูปร่างตามที่กำหนดไว้ในแบบหรือไม่รวมทั้งตรวจดูเหล็กเสริมเสาเข็มว่ามีขนาดปริมาณ และความยาวถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ ที่สำคัญคือ ต้องตรวจสอบดินบริเวณก้นหลุมว่าไม่พังทลาย โดยสังเกตได้จากการที่ไม่มีน้ำทะลักเข้ามาในรูเจาะ ซึ่งอาจจะใช้วิธีส่องไฟดูบริเวณก้นหลุมก็ได้

วิธีการควบคุมคุณภาพของเสาเข็มเจาะแห้ง ในเบื้องต้นนั้นก็คือ ตรวจสอบว่าปริมาณของคอนกรีตที่ใช้เทใกล้เคียง กับปริมาณของดินที่ถูกเจาะออกไปเพื่อให้แน่ใจว่ารูเจาะไม่พังทลายหรือบีบตัวเข้ามา ในการเทคอนกรีตนั้นโดยปกติคอนกรีตจะยุบตัวลงหลังจากที่ถอดปลอกเหล็กกันดินพังออก ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตโดยเผื่อการยุบตัวให้พอดีแล้วจึงถอนปลอกเหล็กนี้ต้องทำโดยดึงปลอกเหล็กขึ้นตรงๆ ในแนวดิ่งมิฉะนั้นเสาเข็มจะอยู่ในสภาพเอียงตามไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาการรับน้ำหนักอาคารภายหลัง

โดยทั่วไปในการก่อสร้างบ้าน วิศวกรมักเลือกใช้เสาเข็มตอก เพราะตรวจสอบคุณภาพได้ง่าย และมีราคาถูกกว่าเสาเข็มเจาะแต่เสาเข็มตอกต้องการพื้นที่ในการทำงานกว้างไม่เหมาะกับการสร้างบ้านที่อยู่ในตอกพื้นที่แคบๆ เพราะไม่สามารถขนส่งเสาเข็มเข้ามาในพื้นที่ก่อสร้างได้ การตอกเสาเข็มยังทำให้เกิดการเสียงดัง และเกิดแรงสั่งสะเทือน ซึ่งอาจทำให้บ้านที่อยู่ติดๆกันแตกร้าว หรืออาจทำให้เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน เช่น ปั้นจั่นล้ม หรือเสาเข็มหลุดร่วงขณะยกขึ้นก็ได้ ในกรณีที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่หรืออาคารใกล้เคียง ก็อาจจำเป็นต้องเลือกเสาเข็มเจาะที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งต้องมีการควบคุมคุณภาพ และต้องระวังความสกปรกเลอะเทอะจากดินที่ขุดขึ้นมาในการทำรูเสาเข็ม
โดยทั่วไปการเลือกใช้เสาเข็มและการตอกเสาเข็ม จะเป็นไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบบ้านได้กำหนดไว้รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเสาเข็มสามารถดูได้จากแบบพิมพ์เขียว สิ่งสำคัญก็คือ ดูให้มั่นใจว่าเสาเข็มมีจำนวนครบถ้วน มีขนาดและความยาวตามที่กำหนดไว้ในแบบ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเสาเข็มแต่ละต้นอยู่ในสภาพที่ดีไม่ชำรุดหากพบรอยร้าวหรืความเสียหายควรปรึกษาวิศวกรว่าเสาเข็มนั้นยังสามารถนำไปใช้ได้หรือไม่การกองเสาเข็มตอกนั้นจะต้องมีไม้รองรับตรงจุดที่ออกแบบไว้ ซึ่งจะห่างจากปลายทั้งสองด้านประมาณหนึ่งในห้าของความยาวเสาเข็ม และควรตรวจดูวันที่ผลิต ซึ่งสามารถดูได้ที่ตัวเสาเข็ม เสาเข็มควรมีอายุอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7 วัน และต้องมั่นใจว่า เสาเข็มที่ตอกลงไปในดินทุกต้นนั้นไม่หักระหว่างการตอกบางครั้งในการก่อสร้างก็อาจจำเป็นต้องต่อความยาวของเสาเข็มให้ได้ตามกำหนด การต่อเสาเข็มตอก มี 2 วิธี คือ

การต่อปลอกคือ การต่อเสาเข็มโดยการใช้ปลอกเหล็กที่มีขนาดพอเหมาะกับขนาดของสาเข็ม โดยปลอกที่ใช้จะต้องมีความยาวเพียงพอที่จะบังคับไม่ให้เสาเข็มหลูดออกจากกันขณะที่ทำการตอกและขณะใช้งานรับน้ำหนักอาคารปัจจุบันไม่นิยมต่อเสาเข็มโดยการใช้ปลอกเหล็ก เพราะมีความเสี่ยงสูง

การต่อเชื่อมด้วยไฟฟ้าคือ การต่อเสาเข็มที่มีแผ่นเหล็กติดอยู่ที่หัวเสา ซึ่งมีไว้เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อเสาเข็มเข้าด้วยกันทั้งนี้ต้องควบคุมการเชื่อมต่อให้รอยเชื่อมรอบเสาเข็มและหน้าสัมผัสของเสาเข็มที่ต้องการต่อแนบกันอย่างสนิทและหากไม่สนิท ต้องนำแผ่นเหล็กบางๆ มาหนุนเสริมสิ่งสำคัญก็คือ เสาเข็มที่รับน้ำหนักโครงสร้างของพื้นทั้งหมดต้องมีความยาวเท่ากัน ปลายเสาเข็มต้องอยู่บนชั้นดินแข็ง และไม่ควรใช้เสาเข็มต่างชนิดกันในอาคารหลังเดียวกันเสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง หรือ เสาเข็มสปัน (SPUN MICRO PILE)"

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เสาเข็มสปัน" เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยใช้ กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีต มีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดาจึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก เสาเข็มสปันมีลักษณะ เป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตรมีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6 - 8 เซนติเมตรและมีความยาวอยู่ในช่วง 1.5 เมตร ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน โดยใช้วิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้ด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา(Drop Hammer System)เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสาซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มากเสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคาร ที่พักอาศัยโรงงาน และงานปรับปรุงโครงสร้าง ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง

ความจำเป็นของการเสริมฐานราก
    1. เพื่อรองรับโครงสร้างอาคารที่เกิดปัญหาจากการทรุดตัวและจมลงไปในดิน หรืออาคารเกิดการเอนเอียง หรือโครงสร้างใต้ดินไม่มีเสถียรภาพ     2. เพื่อหยุดยั้งและป้องกันการทรุดตัวของโครงสร้างเนื่องจากมีการขุดดินใต้ระดับฐานรากของอาคารในบริเวณใกล้เคียง     3. เพื่อค้ำยันโครงสร้างอาคาร หรือใช้เป็นส่วนค้ำยันหลักในขณะทำการดัดแปลงแก้ไขฐานรากอาคาร     4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้ฐานรากที่อยู่ลึก ๆเนื่องจากเหตุผลและความต้องการทางโครงสร้าง ตัวอย่างเช่นการก่อสร้างฐานรากสิ่งปลูกสร้างใต้อาคารหรือห้องใต้ดิน      5. เพื่อเพิ่มขนาดฐานราก ให้สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น เช่นการต่อเติมเพิ่มชั้นอาคาร     6. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับอาคาร ที่ถูกเคลื่อนย้ายไปประกอบติดตั้งที่อื่น

ชนิดของเสาเข็มที่ใช้กันในปัจจุบัน 1. เสาเข็มตอกเป็นการนำเสาเข็มลงไปในดินด้วยการใช้น้ำหนักตอกลงบนหัวเข็มเสาเข็มชนิดนี้เสาเข็มที่ตอกลงไปจะเข้าไปแทนที่ดินทำให้มีการเลื่อนและเคลื่อนตัวของชั้นดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวราบการใช้เสาเข็มชนิดนี้จึงเหมาะกับการก่อสร้างที่มีพื้นที่กว้างขวางห่างไกลจากอาคารข้างเดียว เสาที่นำมาทำเสาเข็มตอกก็มีหลายชนิดที่ใช้กันอยู่เช่น เสาเข็มไม้ซึ่งใช้กันมานานการใช้เสาเข็มไม้นั้นจำเป็นที่จะต้องตอกให้เสาเข็มอยู่ใต้ระดับน้ำตลอดเวลาเพื่อกันปลวกมอดหรือแมลงเข้ามาทำลายเนื้อไม้รวมทั้งอากาศก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เข็มไม่เสื่อมสภาพได้แต่ในปัจจุบันเสาเข็มไม้ที่ดีมีคุณภาพหายากและมีราคาแพงเสาเข็มตอกส่วนใหญ่นิยมใช้เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิดคือเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก และ เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เสาเข็มประเภทนี้มีด้วยกันหลายแบบ ให้เลือกใช้เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงเพราะมีข้อดีกว่าเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กตรงที่สามารถทำให้ยาวกว่าโดยมีหน้าตัดเล็กกว่าได้ทำให้ผลกระทบจากการตอกเสาเข็มต่ออาคารบ้านเรือนในบริเวณใกล้เคียงโดยรอบลดน้อยลงเสาเข็มตอกประเภทสุดท้ายได้แก่ เสาเข็มเหล็กที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นเสาเข็มเหล็กรูปตัวHเพราะสามารถทำการตอกลงดินได้ง่าย และรับน้ำหนักบรรทุกได้ดีครับแต่เสาเข็มเหล็กค่อนข้างจะมีราคาแพงจึงมักจะใช้ในกรณีของการซ่อมอันมีสาเหตุจากการทรุดร้าวของอาคารเสาเข็มนั้นจัดเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนรากฐานของบ้านดังนั้นจึงควรใส่ใจในรายละเอียดกันให้มากสักหน่อยเพื่อบ้านของแต่ละท่านได้เริ่มต้นบนรากฐานที่ดีปัญหาต่างๆก็ไม่ตามมากวนใจกันทีหลังแน่นอนผมจะขอพูดถึงเสาเข็มอีกประเภทที่เรียกกันว่า เสาเข็มเจาะ
2. เสาเข็มเจาะนั้นใช้งานกันมากในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เช่นบริเวณที่มีการก่อสร้างอยู่ติดกับอาคารข้างเคียง เพราะข้อดีของเสาเข็มเจาะคือสร้างความกระทบกระเทือนต่ออาคารใกล้เคียงน้อยแต่ก็มีราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกอยู่พอสมควรหลักการของเสาเข็มเจาะนั้นจะใช้วิธีเจาะเอาดินออกมาจนถึงระดับที่ต้องการโดยใช้ปลอกเหล็กป้องกันดินพังแล้วจึงใส่เหล็กเสริมลงไปและเทคอนกรีตจนเต็มหลุมเจาะเสาเข็มเจาะเองก็แบ่งออกได้หลายประเภทตามวิธีการทำงานดังนี้
เสาเข็มเจาะระบบเปียก ระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ใช้เครื่องมือขนาดใหญ่และค่อนข้างซับซ้อน
เสาเข็มเจาะระบบแห้ง นิยมใช้กันทั่วไปในงานก่อสร้างเช่นบ้านพักอาศัยทั่วไปเพราะเป็นระบบที่ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือมากเสาเข็มเจาะประเภทนี้มีหน้าตัดเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 60 เซนติเมตรสำหรับอาคารบ้านเรือนโดยทั่วไปนิยมใช้เข็มเจาะเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร และมีความยาว ประมาณ 20 – 30 เมตร

เสาเข็มเจาะแบบไมโคร ไพล์ (Micro pile) เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 25 เซนติเมตรเสาเข็มขนิดนี้แม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็มักจะมีราคาแพงเนื่องจากใช้เทคนิคที่พิเศษกว่าแบบอื่น ๆใช้มากในงานซ่อมแซมอาคาร หรือต่อเติมบริเวณที่มีพื้นที่ในการทำงานน้อย ๆ

เสาเข็มเจาะแบบพิเศษจะคล้าย ๆกับเสาเข็มเจาะระบบเปียกแต่จะมีหน้าตัดรูปแบบต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป เช่นหน้าตัดรูปตัว H รูปตัว T หรือเป็นรูปเครื่องหมายบวกทำให้เสาเข็มชนิดนี้สามารถรับน้ำหนักได้มากและมีความคงทนด้วย

คุณสมบัติเด่นของเสาเข็ม SPUN MICRO PILE
    1. สามารถทำงานในพื้นที่คับแคบได้
    2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง สะดวก สะอาด ไม่มีดินโคลน แข็งแรงและทนทาน
    3. สามารถตอกได้ลึกตามความเป็นจริง
    4. มั่นใจในคุณภาพการรับน้ำหนัก สามารถรับน้ำหนักตามที่วิศวกรออกแบบไว้
    5. สามารถตอกชิดกำแพง ผนังบ้านได้